กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 ได้กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับบันไดหนีไฟเพื่อความปลอดภัยในอาคารสูง โดยมีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
- อาคารที่สูงตั้งแต่ 4 ชั้นขึ้นไป และสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคารที่สูง 3 ชั้น และมีดาดฟ้าเหนือชั้นที่สามที่มีพื้นที่เกิน 16 ตารางเมตร นอกจากมีบันไดของอาคารตามปกติแล้วต้องมีบันไดหนีไฟที่ทำด้วยวัสดุทนไฟอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และต้องมีทางเดินไปยังบันไดหนีไฟนั้นได้ โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
- อาคารสูง (อาคารที่สูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป) ต้องมีบันไดหนีไฟจากชั้นสูงสุด หรือดาดฟ้าสู่พื้นดินอย่างน้อย 2 บันได โดยบันไดหนีไฟต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 60 เมตร
บันไดหนีไฟ ควรมีความลาดชันน้อยกว่า 60 องศา ยกเว้นตึกแถวหรือบ้านแถวสูงไม่เกิน 4 ชั้นสามารถมีบันไดหนีไฟที่ลาดชันเกิน 60 องศาได้ และต้องมีชานพักบันไดทุกชั้น
3. บันไดหนีไฟภายนอกอาคาร ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และมีผนังทึบที่ก่อด้วยวัสดุทนไฟ โดยหากบันไดไม่ถึงพื้นชั้นล่างต้องมีบันไดโลหะเลื่อนลงมาถึงพื้นชั้นล่างได้
4. บันไดหนีไฟภายในอาคาร ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และมีผนังทึบที่ทำจากวัสดุทนไฟกั้นโดยรอบ มีช่องระบายอากาศที่เปิดได้ไม่น้อยกว่า 1.4 ตารางเมตรต่อชั้น พร้อมแสงสว่างเพียงพอตลอดวัน
5. ประตูหนีไฟ ต้องทำจากวัสดุทนไฟ กว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร และเป็นบานเปิดผลักออกด้านนอกที่ติดอุปกรณ์ให้ปิดได้เอง โดยไม่มีธรณีหรือขอบกั้น
6. พื้นที่หน้าบันไดหนีไฟ ต้องกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได และอีกด้านหนึ่งกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
กรณีห้องแถวหรือตึกแถว ต้องมีพื้นที่ว่างหลังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร สำหรับใช้เป็นทางเชื่อม โดยห้ามส่วนใดยื่นล้ำในพื้นที่ ยกเว้นบันไดหนีไฟที่ยื่นไม่เกิน 1.40 เมต
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2544
ข้อบัญญัตินี้เน้นการควบคุมความปลอดภัยของบันไดหนีไฟภายในเขตกรุงเทพมหานคร มีข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้
อาคารที่มีชั้นใต้ดินตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ต้องมีทางหนีไฟอย่างน้อยอีกหนึ่งทางเพิ่มจากบันไดปกติ
บันไดหนีไฟ ต้องทำจากวัสดุทนไฟ มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และไม่เกิน 150 เซนติเมตร โดยลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร มีชานพักบันไดกว้างเท่าความกว้างของบันไดและมีราวบันไดสูง 90 เซนติเมตร ห้ามทำบันไดแบบบันไดเวียน
บันไดหนีไฟภายในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร มีผนังทึบก่อสร้างด้วยวัสดุทนไฟและมีช่องระบายอากาศอย่างน้อย 1.4 ตารางเมตรพร้อมแสงสว่างเพียงพอ
- กรณีอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่ไม่สามารถเปิดระบายอากาศได้ ต้องมีระบบอัดลมภายในบันไดหนีไฟให้มีความดันลมไม่น้อยกว่า 38.6 ปาสกาล โดยระบบต้องทำงานอัตโนมัติเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และบันไดหนีไฟต้องมีทางออกสู่ภายนอกอาคารได้สะดวก
ตึกแถวหรือบ้านแถวไม่เกิน 4 ชั้น หรือสูงไม่เกิน 15 เมตรจากระดับถนน อนุญาตให้ใช้บันไดหนีไฟแนวดิ่งโดยต้องมีชานพักทุกชั้น ความกว้างไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร โดยแต่ละชั้นสูงไม่เกิน 40 เซนติเมตร และบันไดขั้นสุดท้ายต้องอยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 3.50 เมตร
5. ตำแหน่งบันไดหนีไฟ (ยกเว้นกรณีตึกแถวหรือบ้านแถว) ต้องอยู่ห่างจากประตูห้องสุดท้ายด้านทางเดินไม่เกิน 10 เมตร และระยะห่างบันไดหนีไฟตามทางเดินไม่เกิน 60 เมตร พร้อมบันไดหนีไฟจากชั้นบนสุดหรือดาดฟ้าสู่พื้นดิน หรือถึงพื้นชั้นสองกรณีบันไดภายนอก
6.ประตูบันไดหนีไฟ ต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ กว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร ทนไฟไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เปิดผลักเข้าสู่บันไดและชั้นดาดฟ้า ชั้นล่างและชั้นออกหนีไฟต้องเปิดออกนอกห้องบันได พร้อมอุปกรณ์บังคับปิดเองและห้ามมีธรณีประตู
7. ป้ายเรืองแสง หรือเครื่องหมายไฟฉุกเฉินต้องบอกทางออกสู่บันไดหนีไฟ โดยป้ายต้องแสดงข้อความ “ทางหนีไฟ” มีขนาดอักษรสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร
ที่มา ddproperty