“จำนอง” กับ “ขายฝาก” ต่างกันอย่างไร
ความหมายของจำนองและขายฝาก จำนอง คือการนำสินทรัพย์หรืออสังหาฯ เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ โดยไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้จำนองอยู่ ขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกไปยังผู้ซื้อฝากทันที แต่มีข้อตกลงว่าผู้ขายสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ขายฝากคือการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนคืนตามสัญญา ข้อแตกต่างระหว่างจำนองและขายฝาก 1. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน จำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้จำนอง ขายฝาก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปยังผู้รับซื้อฝาก 2. การส่งมอบทรัพย์สิน จำนอง ไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับจำนอง ขายฝาก ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก 3. ระยะเวลาในการไถ่ถอน จำนอง ไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอน หากผู้จำนองผิดสัญญา ผู้รับจำนองต้องฟ้องบังคับคดีเพื่อขายทรัพย์สิน ขายฝาก มีการกำหนดระยะเวลาไถ่ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลา ผู้ขายจะหมดสิทธิ์ไถ่ 4. ค่าธรรมเนียมและภาษีอากร จำนอง ค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 ของวงเงินจำนอง (สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท) และไม่เสียภาษีอากร ขายฝาก ค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 ของราคาประเมิน และต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย การทำสัญญา ทั้ง จำนอง และ ขายฝาก ต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน กรณีผิดสัญญา จำนอง หากไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ผู้รับจำนองต้องฟ้องบังคับจำนองเพื่อขายทรัพย์สินผ่านการประมูล ขายฝาก […]
“จำนอง” กับ “ขายฝาก” ต่างกันอย่างไร Read More »