สรุปประเด็นเรื่อง ระยะร่นอาคารที่สร้างใน กทม ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร 2544 และ พรบ ควบคุมอาคาร 2544 ข้อ52(3)(6) และข้อ 53 ดังต่อไปนี้
“ข้อ52 อาคารแต่ละหลังหรือแต่ละหนวยต้องมีที่ว่างตามที่กำหนดดังต่อไปนี้
(3) ห้องแถวหรือตึกแถว สูงไม่เกิน 3 ชั้นและไม่อยู่ริมทางถนนสาธารณะ ต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ถ้าสูงเกิน 3 ชั้น ต้องมีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร ที่ว่างนี้อาจใช้ร่วมกับที่ว่างของห้องแถวหรือตึกแถวอื่นได้
(6) อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า อาคารสาธารณะ อาคารสูงเกิน 2 ชั้นหรือสูงเกิน 8 เมตร ยกเว้นอาคารอยู่อาศัยสูงไม่เกิน 3 ชั้น ที่ไม่อยู่ริมถนนสาธารณะ ให้มีที่ว่างด้านหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
อาคารตามวรรคหนึ่งถ้าสูงเกิน 3 ชั้น ให้มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร
- ที่ว่างตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ต้องมีพื้นที่ต่อเนื่องกันยาวไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 ของความยาวเส้นรอบรูปภายนอกอาคารโดยอาจรวมที่ว่างด้านข้างที่ต่อเชื่อมกับที่ว่างด้านหน้าอาคารก็ได้
- และที่ว่างนี้ต้องต่อเชื่อมกับถนนภายในกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตรออกสู่ทางสาธารณะได้
- ถ้าหากเป็นถนนลอดใต้อาคาร ความสูงสุทธิของช่องลอดต้องไม่น้อยกว่า 5 เมตร ที่ว่างนี้อาจใช้ร่วมกับที่ว่างอาคารอื่นได้
ข้อ 53 อาคารอยู่ริมทางสาธารณะที่ไม่ต้องมีที่ว่างตามข้อ 52 (3)และ52 (6) ต้องมีลักษณะ ดังนี้
- แนวอาคารด้านที่ประชิดติดริมทางสาธารณะ ต้องมีความยาวมากกว่า 1 ใน 8 ส่วน ของความยาวเส้นรอบรูปภายนอกอาคาร
- แนวอาคารด้านที่ประชิดทางสาธารณะต้องห่างทางสาธารณะ ไม่เกิน 20 เมตร กรณี ห้องแถว ตึกแถว ด้านหน้าอาคารทุกคูหาต้องประชิดติดริมทางสาธารณะ และมีแนวอาคารห่างจากทางสาธารณะไม่เกิน 20 เมตร “
L/6 ใช้ในกรณีที่ว่างของอาคารด้านหน้า ตามกฎหมายต้องยาวต่อเนื่องกับที่ว่างหน้าอาคารอีกเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าความยาวเส้นรอบรูปอาคาร L/6
L/8 ใช้กรณีแนวอาคารด้านที่ชิดริมถนนสาธารณะ ตัวอาคารต้องมีความกว้างไม่เกิน 1 ส่วน และความยาวไม่เกิน 8 ส่วน
สรุปและขยายความเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จากเพจ Arcein – REGULATION IN ARCHITECTURE
กรณีอาคารสูงเกิน 3 ชั้น ขนาดใหญ่พิเศษที่ตั้งอยู่ในเขต กทม.]
“ทางเข้า-ออก และที่ว่าง 12 ม. กับ ความกว้างถนนตามกฎหมาย”
หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยเวลาอ่านกฎหมาย เนื่องจากเป็นภาษาที่เราไม่คุ้นเคย วันนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับกฎหมายอาคารที่กำลังเป็นประเด็นที่ผู้คนกำลังสนใจ ให้สามารถเข้าใจง่ายๆ…มีรายละเอียดอย่างไร ไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ
.
.
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งประเภทอาคารในการขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมาย ซึ่งสามารถแบ่งเป็นอาคารตามพื้นที่ใช้สอยอาคารได้ดังนี้
.
1. อาคารพื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตรม. และสูงไม่เกิน 15 ม. ไม่ถือเป็นอาคารขนาดใหญ่
2. อาคารพื้นที่เกิน 2,000 ตรม. หรือ สูงตั้งแต่ 15 ม. และมีพื้นที่ 1,000-2,000 ตรม. ทั้ง 2 กรณีนี้ถือเป็น ‘อาคารขนาดใหญ่’
3. อาคารพื้นที่เกิน 10,000 ตรม. หรือ สูงตั้งแต่ 23 ม. ถือเป็น ‘อาคารขนาดใหญ่พิเศษ’ หรือ ‘อาคารสูง’ ตามลำดับ
.
ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงอาคารใน ข้อ 3 โดยในการออกแบบจะต้องยึดหลักเกณฑ์ของ กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 เพิ่มจากกฎหมายอาคารทั่วไปนั่นเอง
.
.
===========================
กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 ข้อ 2 [กรณีอาคารขนาดใหญ่พิเศษ หรือ อาคารสูง]
ว่าด้วยเรื่องทางเข้า-ออก และที่ว่าง 12 ม. กับความกว้างถนนสาธารณะที่สัมพันธ์กับพื้นที่อาคารรวม
ตีความได้ว่า หากจะสร้าง ‘อาคารขนาดใหญ่พิเศษ’ (หรือ ‘อาคารสูง’) จะต้องมี ‘ที่ว่าง’ ระยะไม่น้อยกว่า 12 ม. ที่ติดกับถนนสาธารณะ ต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่ทางเข้า-ออกของที่ดินนั้นไปจนถึงที่ตั้งของอาคาร
ตามภาพเป็นกรณีที่อาคารมีพื้นที่เกิน 30,000 ตรม. (กรณีอาคารพื้นที่ไม่เกิน 30,000 ตรม. ความกว้างเขตทางอย่างน้อย 10 ม.)
===========================
กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 ข้อ 3 [กรณีอาคารขนาดใหญ่พิเศษ หรือ อาคารสูง]
ว่าด้วยเรื่องถนน 6 ม. โดยรอบอาคาร
ตีความได้ว่า หากจะสร้าง ‘อาคารขนาดใหญ่พิเศษ’ (หรือ ‘อาคารสูง’) จะต้องมีถนน (ภายในโครงการ) โดยรอบอาคารกว้างอย่างน้อย 6 ม.
===========================
หากอาคารตั้งอยู่ใน กทม. ในการออกแบบจะต้องคำนึงถึง ข้อบัญญัติ กทม. ด้วยเช่นกัน และเมื่อพูดถึง ‘ที่ว่าง’ ตามกฎหมายแล้ว กรณีอาคารสูงเกิน 3 ชั้น ยังมีกฎหมายอีกข้อที่จะต้องคำนึงคือ
===========================
ข้อบัญญัติ กทม. ข้อ 52(6) [กรณีอาคารสาธารณะ สูงเกิน 3 ชั้น]
ว่าด้วยเรื่องที่ว่าง 1 ใน 6 ของเส้นรอบรูป
เมื่อผนวกข้อกฎหมายเรื่องที่ว่างของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 กับข้อบัญญัติ กทม. แล้ว
อาคารในกรณีนี้จะต้องมีที่ว่าง 12 ม. โดยที่ที่ว่างนั้นจะต้องมีความยาวต่อเนื่องตามแนวอาคารเป็นระยะอย่างน้อย 1 ใน 6 ของเส้นรอบรูปโดยรวมของอาคารด้วยเช่นกัน
===========================
.
.
เหตุผลในการเว้นที่ว่างทั้ง 6 ม. และ 12 ม. ก็เพื่อให้รถดับเพลิงสามารถเข้า-ออกได้โดยสะดวกปราศจากสิ่งกีดขวางนั่นเอง
.
.
******* สรุป *******
กรณีที่ยกตัวอย่างเป็นอาคารสูงเกิน 3 ชั้น ขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่อาคารมากกว่า 30,000 ตรม. ที่ตั้งอยู่ในเขต กทม. จะต้องมีที่ว่าง 12 ม. ที่ติดกับถนนสาธารณะ โดยที่ถนนสาธารณะจะต้องกว้างอย่างน้อย 18 ม. ยาวต่อเนื่องไปจนถึงถนนสาธารณะอีกถนนที่กว้างอย่างน้อย 18 ม. โดยที่ที่ว่าง 12 ม. (ภายในที่ดิน) ดังกล่าว จะต้องยาวต่อเนื่องจากทางเข้า-ออกที่ดิน (ที่ติดกับถนนสาธารณะ) ไปจนถึงที่ตั้งอาคาร และยังต้องมีความยาวที่ต่อเนื่องต่อไปตามแนวอาคารอีกเป็นระยะ 1 ใน 6 ของเส้นรอบรูปอาคารทั้งหมด
.
.
________________________________
หมายเหตุ:
คำกำจัดความตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
“ที่ว่าง” หมายความว่า พื้นที่อันปราศจากหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุมซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอาจจะจัดให้เป็นบ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ที่พักมูลฝอย ที่พักรวมมูลฝอย หรือที่จอดรถ ที่อยู่ภายนอกอาคารก็ได้ และให้หมายความรวมถึงพื้นที่ของสิ่งก่อสร้างหรืออาคารที่สูงจากระดับพื้นดินไม่เกิน 1.20 เมตร และไม่มีหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุมเหนือระดับนั้น
(กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543)
“เขตทาง” หมายความว่า ความกว้างรวมของทางระหว่างแนวที่ดินทั้งสองด้าน ซึ่งรวมความกว้างของผิวจราจร ทางเท้า ที่ว่างสำหรับปลูกต้นไม้ คูน้ำ และอื่นๆ เข้าด้วย
(ข้อบัญญัติ กทม. พ.ศ. 2544)
“แนวอาคาร” หมายความว่า แนวผนัง เสา หรือบันไดที่อยู่ด้านนอกสุดของอาคาร ยกเว้น บันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่มีลักษณะโปร่ง
(กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543)